ChokeDee9345@Supakrit.com http://chokedee9345.siam2web.com/

เรื่องราวของมวยหวิงชุน ที่ศุภกฤต หรือลัคกี้-หวิงชุน เรียนและฝึกฝนอยู่

 

สำนักจูเสาไหล่หวิงชุนแห่งประเทศไทย

โลโก้ สำนักจูเสาไหล่หวิงชุนแห่งประเทศไทย

มวยหย่งชุน(หวิงชุน) เป็นศิลปะการป้องกันตัวแบบจีน ที่เรียนได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย มวยหย่งชุน หรือ หวิงชุน เป็น มวยจีนโบราณ อาศัยหลักโครงสร้างที่ดี และการนำแรงของฝ่ายตรงข้ามที่กระทำ ตอบโต้กลับไป และปัจจุบันก็นำมาทำเป็นละคร ภาพยนต์ หลายเรื่อง ที่เห็นเด่นชัดที่สุดในนี้ก็คงหนีไม่พ้น ภาพยนตร์เรื่อง “IP MAN 1″ และ “IP MAN 2″ ที่บอกเล่าเรื่องราวของ อาจารย์ยิปมัน ซึ่งเป็นปรมจารย์มวยหย่งชุนอย่างเด่นชัด รวมถึงความเป็นมวยหย่งชุนในตัวของปรมาจารย์ยิปมันได้อย่างลึกซึ้ง

มวยหวิงชุน เป็นศาสตร์และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ที่มีถิ่นกำเนิดแถบมณฑลกวางตุ้งของจีน
เป็นมวยที่อาศัยหลักโครงสร้างของร่างกาย เรียนรู้การใช้แรง ฟังแรง รับแรง กลืนแรง จมแรง และคายแรง ในการต่อสู้
นำแรงกระทำของฝ่ายตรงข้าม มวลรวมของร่างกาย รวมถึงแรงดึงดูดโลกที่กระทำต่อมวลร่างกาย(รวมกันเป็นน้ำหนัก)
รวมแรงดังกล่าวเพื่อเป็นแรงกระทำตอบโต้ฝ่ายตรงข้าม

มวยหวิงชุนสายปรมาจารย์หยิปหมั่น เป็นสายมวยที่ได้รับการสืบทอดกันลงมาเป็นทอด ๆ จาก เหลียงหล่านไกว เหลียงหยี่ไถ่ หว่องหว่าโป่ว สู่อาจารย์เหลียงจ้าน ซึ่งอาจารย์หยิปหมั่นได้รับถ่ายทอดจากอาจารย์ฉั่นหว่าซุน ฉายา เจ๋าฉีนหว่า และอาจารย์เหลียงปิ๊ก ซึ่งเป็นศิษย์อาจารย์เหลียงจ้าน

บรรดาศิษย์ของปรมาจารย์หยิปหมั่นได้ถ่ายทอดมวยหวิงชุนจนได้รับความนิยมแพร่หลาย
ปัจจุบันมวยหวิงชุนได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก มีผู้ฝึกทั่วโลกกว่า 5 ล้านคน

ในประเทศไทย อาจารย์อนันต์ ทินะพงศ์ขณะที่ศึกษาอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ศึกษามวยนี้จากอาจารย์โรเบิร์ต ชู
โดยอาจารย์โรเบิร์ต ชู ศึกษามวยนี้จากอาจารย์ฮอกกี่น(ศิษย์อาจารย์หยิบหมั่น)
หลังจากจบการศึกษาอาจารย์อนันต์ได้นำมวยหวิงชุนเข้ามาเผยแพร่และถ่ายทอดให้บุคคลทั่วไปในประเทศไทย
ที่สวนลุมพินี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา

การฝึกมวยหวิงชุนไม่เพียงจะใช้ได้ในการต่อสู้ป้องกันตัว แต่ยังให้ผลดีในเรื่องสุขภาพ บุคลิกภาพ สมาธิ รวมถึงปรับสภาวะจิตใจ
เป็นมวยที่เหมาะกับคนหลากหลายกลุ่ม ไม่จำกัดเพศ วัย ฝึกได้ทั้งหญิง ชาย เด็ก หรือผู้สูงอายุ

 

ประวัติมวยหวิงชุน

ประวัติของมวยหวิงชุน ตามคำบอกเล่าของปรมาจารย์หยิบหมั่น

เมื่อสองร้อยกว่าปีมาแล้ว เด็กหญิงชาญฉลาดและงดงาม หวิงชุนแห่งมณฑลกวางตุ้ง ได้เข้าพิธีหมั้นตามประเพณีกับพ่อค้าเกลือชื่อ เหลียง ปอค โฉว แห่งมณฑลฮกเกี้ยน ไม่นานหลังจากที่มารดาเธอเสียชีวิต ยิ่มยี่บิดาของเธอ ถูกทางการกล่าวหา จนทั้งสองต้องหลบหนีมายังเขาไท้เหลียง ซึ่งอยู่ระหว่างมณฑลยูนาน และเสฉวน โดยหาเลี้ยงชีพด้วยการขายเต้าหู้ทางตอนล่างของภูเขา

ใน เวลานั้นจีนอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์กวางสีแห่งราชวงศ์ชิง ซึ่งได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากชาวจีนทั้งมวล โดยเฉพาะนักมวยแห่งวัดเสี้ยวลิ้ม ซึ่งสร้างความอัปยศแก่ราชวงศ์ชิงเป็นอย่างมาก ถึงกับมีคำสั่งให้ทำลายวัดเสี้ยวลิ้มที่ซ่งซาน มณฑลเหอหนานให้สิ้นซาก

แต่ เนื่องจากความสามารถทางวรยุทธของชาวเสี้ยวลิ้ม ทางการจึงไม่สามารถทำลายวัดนี้ได้ จนกระทั่ง  ฉั่นหม่านไหว ข้าราชการผู้สอบได้คะแนนยอดเยี่ยมเสนอแผนหนอนบ่อนไส้  จ้างศิษย์ทรยศ หม่านิ่งยี่ และพระเลวอีกบางรูปให้วางเพลิง เพื่อเปิดโอกาสให้กองทัพชิงเข้าตีขณะชุลมุน  พระในวัดได้ต่อสู้อย่างเต็มความสามารถจนต้านไม่ไหว  จึงได้ตีฝ่าวงล้อมออกมา  ในจำนวนนี้มีพระอาวุโสห้ารูป คือ แม่ชีหวู่เหมย  หลวงจีนจี้ส้าน  แปะไบ๊  ฟงโตกตั๊ก  และเมียวหิ่น

แม่ ชีหวู่เหมยเป็นศิษย์ผู้พี่ของพระทั้งห้า  ได้หลบมาพำนักอยู่ที่วัดกระเรียนขาวที่อยู่บนเขาไท้เหลียง และที่นี่เองได้พบกับ หวิงชุน และบิดา  เพราะแม่ชีมาซื้อเต้าหู้จากยิ่มยี่เสมอ

เมื่อ หวิงชุนอายุได้ 15 ปี ความงามเป็นที่เลื่องลือนัก จนอันธพาลได้มาก่อกวนเธอ และบิดาเป็นอย่างมาก  ยิ่มยี่จึงไปปรึกษาแม่ชี  แม่ชีเกิดความสงสารและถ่ายทอดวิชามวยหวิงชุน ให้แก่หวิงชุนเพื่อใช้ป้องกันตัว หลังจากนั้นหวิงชุนก็สามารถสยบอันธพาลเหล่านั้นได้สำเร็จ  ในเวลาอีกไม่นานแม่ชีหวู่เหมยจำต้องลาจากไป โดยกำชับให้หวิงชุนถ่ายทอดมวยชุดนี้ให้แก่คนรุ่นหลัง  เพื่อที่จะฟื้นฟูราชวงศ์หมิง และล้มล้างราชวงศ์ชิงต่อไป  นับได้ว่าแม่ชีหวู่เหมย  คือ  ปฐมอาจารย์แห่งมวยหวิงชุนโดยแท้

หลัง แต่งงาน หวิงชุนได้สอนมวยนี้ให้แก่เหลียงปอกโฉวผู้เป็นสามี  จากนั้นเหลียงปอกโฉว  สอนเหลียงหลานไกว(รุ่นที่2)  เหลียงหลานไกวสอนให้หวองหัวเปา (รุ่นที่3)  หวองหัวเปาขณะนั้นเป็นสมาชิกอยู่ในขบวนเรื่องิ้วแดง  ซึ่งออกแสดงงิ้วต้านราชวงศ์ชิงทางตอนใต้ของจีน  ด้วยความสนใจในวรยุทธ  หวองหัวเปาจึงสนใจอย่างมากกับกระบอง6แต้มครึ่ง  ที่เหลียงยี่ไท่สมาชิกร่วมคณะ เรียนมาจากพ่อครัวบนเรือ (ซึ่งแท้จริงคือ หลวงจีนจี้ส้าน) ถึงกับเอ่ยปากแลกเปลี่ยนกับมวยหวิงชุน

เหลียงยี่ไท่ด้วยใจรักมวยชุดนี้เป็นทุนเดิมจึงตอบตกลง  บันแต่นั้นมามวยหวิงชุนก็รวมเอากระบอก6แต้มครึ่ง เข้าไว้ด้วย

เหลียงยี่ไท่สอนมวยหวิงชุนให้กับเหลียงจ้าน(รุ่นที่4) ผู้เป็นหมอรักษาโรคแห่ ผ่อซาน มณฑลกวางตุ้ง เหลียงจ้านหลังจากเรียนรู้มวยหวิงชุนจนแตกฉานจนเป็นที่รู้จักอย่างกว้าง ขวาง  มีชาวยุทธมากมายมาประลอง  แต่ก็ไม่ปรากฏว่าพ่ายแพ้แก่ผู้ใด  จนคนขนานนามว่า “ราชาแห่งมวยหมัด” (ก๋องเสาหว่อง)

เหลียงจ้านได้ถ่ายทอดมวยหวิงชุนแก่อาจารย์ของข้าพเจ้าฉั่นหว่าชุน (รุ่นที่5) หรือ เจ๋าฉิ่นหว่า แปลว่า  ผู้แลกเงินตรา อาจารย์ของข้าพเจ้าสอนศิษย์รุ่น6  ทั้งมวลรวม 12  ปี ซึ่งมีศิษย์พี่ของข้าพเจ้า

อึ๋งสิวโล่ว  อึ๋งจ๋งโซว  ฉั่นหยู่หมิน  ลิ่วหยู่ไฉ  และข้าพเจ้า  นับได้ว่าเราเรียนมวยหวิงชุนสายตรงจากปฐมอาจารย์เลยทีเดียว ข้าพเจ้าขอรำลึกถึงบุญคุณของอาจารย์หวิงชุนทุกท่าน  เฉกเช่นผู้กระหาย ย่อมรู้คุณค่าของแหล่งน้ำ  ข้าพเจ้ามีความยินดียิ่งที่มีโอกาสเห็นสมาคมหวิงชุน  หวังว่าเราสามารถสืบทอดมวยหวิงชุนให้แก่คนรุ่นหลังต่อไป

 

ยิบมั่น และศิษย์

หลังจากที่คอมมูนิสต์เข้าปฎิวัติประเทศจีน ยิบมั่นจึงอพยบมาที่ฮ่องกงอีกครั้ง และจึงเริ่มรับลูกศิษย์ทั่วไปมากมาย ลูกศิษย์ซี่งมีชื่อ เสียงจนถึงปัจจุบันมีมากมาย ยกตัวอย่างคือ ซุยเซียงทิ้น หว่องซั่มเหลี่ยง เจี้ยงจอกเฮง หลีเซียวเส้ง (บรู๊ซลี) ฮ่อกกิ่นเชียง และอื่นๆ อาจารย์เหล่านี้ได้เผยแพร่มวยหยงชุน จนมีผู้ฝึกฝนทั่วโลกในปัจจุบันเป็นหมี่นหรือแสนคน

ปรมาจารย์ หยิบหมั่น


บรู๊ซลีได้ไปอเมริกาและนำพลังหมัดช่วง สั้นหนึ่งนิ้วและสามนิ้วไปสาธิตที่การแข่นขันศิลปป้องกันตัวของเอ็ด ปารค์เกอร์ ครูมวยคาราเต้ระบบ อเมริกันแคมโป้ (American Kempo)จนเป็นที่ตื่นเต้นแก่ผู้สนใจชาวอเมริกันเป็นอย่างมาก ภายหลังบรู๊ซได้ถูกทาบทามไปแสดงหนังจนกระทั่งเป็นที่รู้จักกันดีในนาม ของ เค้โต้ และ อ้ายหนุ่มซินตึ้ง ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างลูกศิษย์และอาจารย์เป็นไปอย่างไม่ราบรื่นนัก เมี่อยิบมั่นไม่ยอมถ่ายทอดวิชาทั้งหมดให้บรู๊ซในเวลาอันสั้น ด้วยความผิดหวังบรู๊ซกลับไปอเมริกาคิดค้นมวยประยุกต์ขึ้นใหม่โดยรวบรวมข้อดี ของศิลปป้องกันตัวทุกชนิดเข้าด้วยกันและเรียกมวยขนิดนี้ว่า จิ๊ดคุนโด หรือ วิชา หยุดหมัดสำหรับผู้ที่รู้จักมวยของทั้งสองแล้ว ย่อมรู้ว่าบรู๊ซได้คงไว้ซึ่งหลักวิชาหยงชุ่นไว้อย่างมากมายในมวยจิ๊ดคุนโด

ยิบมั่นเสียชิวิตลงในปี ค.ศ. 1972 และถูกยกย่องให้เป็นปรมาจารย์ในยุคปัจจุบันของหยงชุ่น เคียงข้าง เช็งหม่านชิง (แต้หมั่งแช – แต้จิ๋ว) แห่ง สำนักไท้เก็ก ยูอิชิบ้าแห่งสำนักไอกิโด้ ส่วนบรู๊ซลีเสียชีวิตอีกหนึ่งปีถัดไปด้วยโรคปัจจุบัน

 ปรมาจารย์ หยิบหมั่น 

  

เจี้ยงฮ่อกกิ่น จูเสาไหล่ และ อนันต์ ทินะพงศ์

อาจารย์ทวด เจี้ยงฮ่อกกิ่น

บรู๊ซลีมีเพื่อนสนิทในโรงเรียนและสำนักมวย ชื่อ เจี้ยงฮ่อกกิ่น ทั้งคู่เรียนหนังสือวิชาป้อง กันตัว และออกประลองด้วยกัน ทั้งคู่ฝึกมวยหยงชุ่นภายใต้การชี้แนะของยิบมั่นและศิษย์พี่จอมราวี หว่องซั่มเหลี่ยงและเจี้ยงจอกเฮง เจี้ยงฮอกกิ่นนอกจากศึกษา วิชามวยหยงชุนแล้วยังได้ศีกษา มวยไทเก็กตระกูลวู และปัจจุบันได้สอนมวยทั้งสองชนิดเป็นการส่วนตัวที่มลรัฐลอสแอนเจลิส อเมริกาและได้รับศิษย์เอกในวิชาหย่งชุนคือจูเสาไหล่

อาจารย์ปู่ จูเสาไหล่


อาจารย์จูเสาไหล่ศึกษาศิลปป้องกันตัว ตั่งแต่ยังเล็กๆ ในวิชาคาราเต้โชรินริว ต่อมาได้ฝึกวิชามวยตระกูลหงทั้งหมดในฐานะศิษย์เอก จากยีจีเหวย ศิษย์อาจารย์ต๋องฟ้งศิษย์อาจารย์หวองเฟยหง อาจารย๋จูเสาไหล่ได้ให้ความสนใจหมัดหยงชุนมาเป็นเวลานานจึงได้เริ่มหัดมวย หยงชุนกับ อากว้าน ศิษย์ หยงชุนสำนักยิมเชียวซาน หลีหมุ่ยซ้าน ศิษย์อาจารย์หมุ่ยยัดศิษย์อาจารย์ยิบมั่น อาจารย์จูเสาไหล่ยังได้พัฒนาตัวเองเพิ่มเติมด้วยการศึกษาเพิ่มเติมจากหลุ่ย หยันซัน ราชากระบองยาวแห่งประเทศจีน สำนักเสือทยานมังกรบิน (เฟยหลงฝู) และปากัวหมัดแปดทิศ ซิงยี่หมัดจากใจและไทเก็ก อาจารย์จูเสาไหล่ยังศึกษาเพิ่มเติม จากอาจารย์ฮอกกิ่นเป็นครั้งคราวเมื่ออาจารย์ฮอกกิ่นมาเยือนที่มลรัฐนิวยอร์ค หลังจากที่อาจารย์จูเสาไหล่ย้ายมาที่มลรัฐ ลอสแอนเจลิส อเมริกา จึงได้ปรมาตัวเป็นศิษย์ อาจารย์ฮอกกิ๋นจนถึงทุกวันนี้

 

ประวัติมวยหวิงชุนในเมืองไทย

สำนักจูเสาไหล่หวิงชุนแห่งประเทศไทย โดย อาจารย์อนันต์ ทินะพงศ์

อาจารย์อนันต์ ทินะพงศ์

อาจารย์อนันต์ได้เรียนรู้วิชาป้องกัน ตัวตั่งแต่อายุได้สิบเอ็ดปี ในวิชาเทควันโด้และมวยเสี้ยวลิ้มใต้จากอาจารย์คันศรเป็นเวลา 6-7 ปี และมวยไทย เมื่อคุณพ่อเปิดค่ายมวยไทยหลังจากนั้นจึงเดินทางไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา จนจบปริญญาโทด้านคอมพิวเตอร์ ขณะอยู่ในอเมริกาอาจารย์อนันต์ได้คลุกคลีกับศิลป ป้องกันตัวโดยตลอดโดยได้เป็นผู้จัดการฝ่ายขายของร้านขายอุปกรณ์กีฬาศิลป ป้องกันตัวเป็นเวลากว่าสิบปี ที่นี่เองอาจารย์อนันต์ได้พบกับอาจารย์ จูเสาไหล่จนเป็นมิตร ที่สนิทกัน ด้วยความอยากแลกเปลี่ยนวิชา ทั้งสองได้ตกลงทดสอบฝีมือกัน โดยใครแพ้ก็ต้องเรียนกับอีกฝ่ายหนี่ง ขณะเดียวกันก็ถ่ายทอดสิ่งที่ตนเรียนมาให้โดยไม่มีเงื่อนไข

อาจารย์อนันต์ได้เรียนรู้วิชาหยงชุนกับ อาจารย์จูเสาไหล่เป็นเวลาหลายปีก่อนกลับเมื่อไทยในปีค.ศ. 1988 จากนั้นจึงเริ่มสอนวิชามวยหยงชุนเป็น วิทยาทานโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ทุกสองปีอาจารย์อนันต์ได้กลับไปยังสหรัฐเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ อาจารย์จูเสาไหล่และอาจารย์ฮ่อกกิ่น ปัจจุบันอาจารย์อนันต์ ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของบริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของ สองบริษัท ปัจจุบันอาจารย์อนันต์ได้เปิดสอนหวิงชุนเป็นประจำที่สวนลุมทุกวันอาทิตย์

Laughing Sealed Laughing

 

อาจารย์อนันต์ ทินะพงศ์

 

อาจารย์อนันต์ และ ลัคกี้-หวิงชุน

 

สำนักจูเสาไหล่หวิงชุนแห่งประเทศไทย โดย อาจารย์อนันต์ ทินะพงศ์

ข้อมูลส่วนหนึ่งจาก http://thaimmaclub.com

เว็บไซท์ของสำนักจูเสาไหล่หวิงชุนแห่งประเทศไทย http://www.thaiwingchun.com

หวิงชุนเว็บบอร์ด http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vboard.php?user=wingchun


Cool Smile Tongue out

 

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 7,472 Today: 5 PageView/Month: 6

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...